การดูแลรักษาอุปกรณ์ไฟฉุกเฉิน
1. ทำการเสียบปลั๊กระบบไฟฉุกเฉินเข้ากับไฟ AC 220 V ตลอดเวลาเพื่อให้แบตเตอรี่ได้รับการชาร์จไฟอยู่ตลอดเวลา
2. ผู้ใช้งานควรมีการทดสอบเครื่องเป็นระยะ ตาม วสท. 2004-51 ได้ทำการกำหนดไว้ดังนี้
การตรวจสอบรายเดือน
สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟ หรือหลอด LED ทำงานเป็นปกติ ระยะเวลาทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 30 นาที ระหว่างช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมไฟฉุกเฉินทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้อง หรือถ้าเป็นไฟฉุกเฉินรุ่นใหม่ สามารถใช้ รีโมท ในการตรวจเช็คการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น
ปล.ไฟฉุกเฉินรุ่นใหม่มีโปรแกรมตรวจสอบตัวเองอัตโนมัติ ที่เป็นมาตรฐานออกมาจากทางผู้ผลิต เป็นรายสัปดาห์ และรายเดือน
การตรวจสอบราย 1 ปี
สามารถทำการตรวจสอบโคมไฟฟ้าฉุกเฉินโดยการป้อนไฟจากแบตเตอรี่เข้าหลอดไฟ หรือหลอด LED เพื่อจำลองความล้มเหลวของการจ่ายไฟสักระยะหนึ่งเพื่อให้แน่ใจว่าหลอดไฟทำงาน เป็นปกติ ระยะเวลาทดสอบต้องไม่ต่ำกว่า 60 นาที ระหว่งช่วงเวลานี้ต้องตรวจสอบโคมไฟฉุกเฉินทุกชุดด้วยตาเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่าทำงานถูกต้อง
3. หลังจากทำการทดสอบเครื่องไฟฉุกเฉินตามขั้นตอนในข้อ 2 แล้วต้องทำการจ่ายไฟฟ้าปกติเข้ามาในระบบในทันที เพื่อให้แน่ใจว่า แบตเตอรี่ได้รับการประจุไฟอีกครั้ง
4. ไม่ควรทำการทดสอบโดยใช้ระยะเวลาเกินกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เนื่องจากถ้าเกิดความล้มเหลวของระบบจ่ายไฟปกติขึ้นหลังจากทำการทดสอบไม่นาน จะทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟได้ตามระยะเวลาที่กำหนด
5. ถ้าเครื่องไฟฉุกเฉินเกิดการขัดข้องในการใช้งานขึ้น ไม่ควรซ่อมเองให้ติดต่อผู้ผลิตเครื่องไฟฉุกเฉินเพื่อที่เครื่องจะได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง