บทความไฟฉุกเฉิน Emergency Light

ไฟฉุกเฉิน (Emergency Light)
จุดประสงค์การใช้ทำงาน ไฟฉุกเฉินคือ ใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างในกรณีที่ไฟฟ้าดับ โดยเครื่อง
จะส่องสว่างอัตโนมัติ เพื่อให้หน่วยงานมีแสงสว่างในเวลากลางคืน

หลักการทำงานของไฟฉุกเฉินคือ
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่จะมี 2 แบบ คือ แบบชนิดเติมน้ำ
กลั่น และชนิดแห้งไม่ต้องเติมน้ำกลั่น และเมื่อไฟฟ้าดับจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ไป On หน้า Contact
ของ Relay และจะทำให้หลอดไฟสว่างเมื่อมีกระแสไฟฟ้าจ่ายให้ไฟฉุกเฉินก็จะมีวงจรลดแรงดันไฟฟ้า
และแปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นกระแส DC เพื่อประจุให้แบตเตอรี่และมีวงจร Off หน้า Concat relay เพื่อ
ไม่ให้หลอดไฟสว่าง

ขั้นตอนการใช้งานที่ถูกต้อง
ก่อนใช้งาน
- ควรศึกษาคู่มือการใช้งานแต่ละยี่ห้อให้เข้าใจ
- การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้น ๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่
แบบเติมน้ำกลั่น ควรจะติดตั้งบริเวณทางเดินหรือที่โล่ง หรือพื้นที่ที่มีการระบายอากาศเป็น
อย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาเป็น
อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจถ้านำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ ในห้องที่มี
อากาศถ่ายเทไม่ดีหรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง
ระหว่างการใช้งาน
- ถ้าเป็นแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่นต้องตรวจสอบระดับน้ำกลั่นทุก ๆ 1 เดือน
- ทดสอบการใช้งานว่าเครื่องสามารถใช้งานได้ตามปกติหรือไม่โดยกดปุ่ม test ทุก ๆ 1 เดือน ว่าหลอดไฟติดหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่ม test ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า
- ถ้าไฟดับในเวลากลางวัน แล้วมีใครปิดสวิทซ์ เพื่อไม่ให้หลอดไฟสว่างเมื่อไฟฟ้าจ่ายเป็นปกติ แล้วให้เปิดสวิทซ์เพราะมิเช่นนั้น ไฟฉุกเฉินจะไม่ประจุไฟเข้าแบตเตอรี่
- ควรให้แบตเตอรี่มีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดยเปิด เครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง

การบำรุงรักษาไฟฉุกเฉิน
- ทำความสะอาดดวงโคม ทุก 2 สัปดาห์
- ตรวจสอบระดับน้ำกลั่น เติมน้ำกลั่น ทุก 1 เดือน
- ทดสอบการทำงานของเครื่อง test เครื่อง ทุก ๆ 1 เดือน
- คายประจุแบตเตอรี่ให้หมด ทุก ๆ 6 เดือน

ข้อควรระวังในการใช้งานไฟฉุกเฉิน
1. ไม่ควรติดตั้งไฟฉุกเฉินชนิดแบตเตอรี่แบบเติมน้ำกลั่น ไว้บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่ดีเพราะจะทำ ให้ไอตะกั่วระเหยกระจายในอากาศ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
2. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ต้องมั่นคงแข็งแรง เพราะแบตเตอรี่จะมีน้ำหนักมากอาจจะร่วงหล่นเป็นอันตรายได้
3. ควรเสียบปลั๊กไฟฟ้าเพื่อประจุไฟฟ้าให้แบตเตอรี่เต็มอยู่เสมอ พร้อมใช้งานตลอดเวลาเมื่อไฟฟ้าปกติดับ

อ้างอิงตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่ล่าสุด ปรับปรุงเมื่อปี 2551 ข้อกำหนดที่ต้องพิจารณาในการติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ขอสรุปประเด็นหลักๆเป็นข้อๆ ดังนี้

1. แหล่งจ่ายไฟฟ้าแสงสว่างให้ใช้โคมที่จ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ สามารถประจุกลับเข้าไปใหม่ได้เองโดยอัตโนมัติ ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน

2. ต้องให้ความสว่างติดต่อกันนานไม่น้อยกว่า 90 นาที (สำหรับอาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง ตามที่กฎหมายกำหนด และสถานพยาบาล ต้องมีความส่องสว่างติดต่ิอกันนานไม่น้อยกว่า 120 นาที

3. โคมไฟฟ้าฉุกเฉินต้องติดตั้งจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร โดยวัดจากพื้นถึงด้านล่างของโคมไฟฟ้าฉุกเฉิน กรณีติดตั้งต่ำกว่า 2 เมตร จะต้องไม่กีดขวางเส้นทางหนีภัย

4. ระดับความสว่างเพื่อการหนีภัย โดยที่เส้นกึ่งกลางของทางหนีภัยต้องไม่น้อยกว่า 1 ลักซ์

5. พื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ความส่องสว่างในแนวระดับที่พื้น ต้องไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ ในรัศมีจากตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ (จากข้อนี้ผมตีความว่าจริงๆแล้วทางหนีไฟภายในพื้นที่ก็ต้องมีความส่องสว่างไม่น้อยกว่า 15 ลักซ์ เนื่องจากเรามีการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงและอุปกรณ์แจ้งเหตุไว้)

6 นอกจากพิจารณาถึงความส่องสว่างภายในพื้นที่แล้ว โคมไฟฟ้าฉุกเฉินจะต้องเพิ่มเติมในจุดต่างๆ เหล่านี้ อันได้แก่

  • หน้าป้ายทางออกชนิดส่องสว่างจากภายนอกหรือบริเวณทางออก
  • ทางแยก ให้ติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินห่างจากทางแยกไม่เกิน 2 เมตรในแนวระดับ
  • ให้ติดเพิ่มเติมที่จุดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล
  • ติดเพิ่มเติมในส่วนของห้องเครื่อง ห้องควบคุม ห้องต้นกำลัง ห้องสวิตช์ และบริเวณใกล้กับอุปกรณ์ควบคุมการจ่ายไฟแสงสว่างปกติและไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
  • ห้องน้ำให้ติดตั้งในห้องน้ำทั่วไปที่มีพื้นที่มากกว่า 8 ตารางเมตร และห้องน้ำสำหรับคนพิการ

ขอขอบพระคุณบทความดีๆจาก http://safetyenvi.blogspot.com/

Visitors: 3,047,881