บทความกล้องวงจรปิด
เครื่องหุ้มกล้อง / กล่องหุ้มกล้อง (Camera Housing)
เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้กล้องโทรทัศน์วงจรปิด มีความคงทนต่อสภาวะอากาศ สิ่งแวดล้อมต่างๆ
สามารถ ที่จะนำกล้องโทรทัศน์วงจรปิดไปติดตั้งใช้งานได้ทุกสถานที่ตามความต้องการ เพราะว่า เครื่องหุ้มกล้อง / กล่องหุ้มกล้อง มีหลายชนิด หลายแบบ ให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการ เช่น บางชนิด มีพัดลมช่วยระบายอากาศ ทั้งภายในและภายนอก (ระหว่างตัวกล่องหุ้มกล้องกับแผงกันแดด Sunshield )บางรุ่นมีที่ปัดน้ำฝน บางชนิดมีระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ เพื่อติดตั้งกล้องบริเวณที่มีความร้อนสูงๆ เช่นหน้าเตาเผาโลหะ ฯ บางชนิดมีการปิดผนึกอย่างดี สามารถป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปภายในได้ บางชนิดสร้างด้วยโลหะพิเศษ เช่น Stainless-Steelเพื่อทนทานต่อการกัดกร่อนโลหะ(Corrosion proof)
บางชนิดออกแบบมาเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมน้ำมันโดยเฉพาะ สามารถที่จะป้องกันประกายไฟ-ไม่ให้ออกไปภายนอกกล่องหุ้มกล้องได้ เรียกว่าFlameproof หรือบางประเทศเรียก Explosion proofเพื่อป้องกันไม่ให้ประกายไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นภายในกล่องหุ้มกล้องออกไปทำความเสียหายให้กับงานอุตสาหกรรม น้ำมันซึ่ง สภาวะอากาศเต็มไปด้วยไอของน้ำมันที่พร้อมจะติดไฟ การเลือกใช้กล่องหุ้มกล้องนอกจากสภาวะภายนอกแล้ว จะต้องคำนึงจึงภายในตัวกล่องหุ้มกล้อง ซึ่งจะมีกล้องและเลนส์ติดตั้งอยู่ จะต้องมีขนาดพอเหมาะ ควรจะให้มีขนาดใหญ่ไว้สักเล็กน้อยเพื่อให้อากาศภายใน สามารถหมุนเวียนได้ เป็นการช่วยระบายความร้อนให้กับกล้องได้ส่วนหนึ่ง.
ฐานกล้องหมุนส่ายซ้าย/ขวา - ก้มเงยได้ (Pan & Tilt unit)
เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กล้อง สามารถที่จะเปลี่ยนได้หลายทิศทาง ทั้งมุมต่ำ และมุมสูง เช่น กล้องที่ติดตั้งอยู่กับ Pan & Tilt unitติดตั้งบนเสามีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร สามารถที่จะปรับมุมก้มเพื่อจะดูวัตถุ หรือคนที่อยู่บนพื้นดิน ซึ่งมีระดับต่ำกว่าตำแหน่งที่ติดตั้งกล้อง หรือมุมเงยเพื่อมองไปยังอาคารที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นทิศทางตรงด้านหน้าหรือจะหมุนไป ยังทิศทางอื่นๆ ก็สามารถทำได้
การพิจารณาเลือกใช้ Pan & Tilt unit ควรเลือกให้เหมาะสมกับงาน เพื่อเป็นประหยัดเงิน และอื่นๆ เช่น ติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน สภาพแวดล้อมปกติ ก็ควรใช้ Pan & Tilt unitธรรมดาสำหรับที่ใช้ภายในอาคาร แต่ถ้าเป็นภายในอาคารของโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ประกอบด้วย เช่น มีฝุ่นละอองมากกว่าปกติ มีการกัดกร่อนของโลหะสูง ก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้ Pan & Tilt unitที่มีคุณสมบัติพิเศษ ให้เหมาะสมกับสภาพของสถานที่นั้นๆ ซึ่งอาจจะมีราคาค่อนข้างสูงจนถึงสูงมาก การติดตั้งภายนอกอาคาร ถ้าเป็นสถานที่สภาพแวดล้อมทั่วไปของท้องถิ่น (ประเทศไทย) ก็ใช้ Pan & Tilt unit
สำหรับติดตั้งภายนอกอาคารที่มีความสามารถทนทนต่อแดดและฝนได้ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นภายนอกอาคารแต่อยู่ในบริเวณโรงงานอุตสาหกรรม ก็จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบอื่นๆ ด้วย เช่น ภายในบริเวณโรงกลั่นน้ำมัน สภาวอากาศจะเต็มไปด้วย ก๊าซ และ/หรือ ไอน้ำมัน ซึ่งเป็นสิ่งไวไฟ ง่ายต่อการติดไฟ จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้ Pan & Tilt unit (และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ)ที่มีการออกแบบมาเฉพาะสามารถป้องกันไม่ให้ประกายไฟ ที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการทำงานของอุปกรณ์ภายใน Pan & Tilt unitออกไปภายนอกได้ อาจจะเป็นสาเหตุของการติดไฟ ทำให้เกิดไฟไหม้ หรือการระเบิดPan & tilt unit ชนิดนี้จะต้องสามารถป้องกันประกายไฟ (Flameproof)ยุโรป หรือป้องกันการระเบิด (Explosion proof) สหรัฐฯ(ซึ่งมีลักษณะของการใช้งานอย่างเดียวกัน แต่เรียกชื่อต่างกัน)
การเลือกใช้ Pan & Tilt unit นอกจากเรื่องสถานที่ติดตั้งแล้ว จะต้องพิจารณาต่อไปด้วยว่า อุปกรณ์ที่จะใช้งานร่วมกับ Pan & Tilt unitนอกจากกล้องกับเลนส์ จะมีอุปกรณ์อื่นเพิ่มเติม เพราะว่าถ้ามีอุปกรณ์ประกอบมาก น้ำหนักก็จะต้องมากตามไปด้วย จำเป็นที่ต้องใช้ Pan & Tilt unit ที่สามารถจะรับน้ำหนักได้ทั้งหมด จะทำให้มีขนาดใหญ่ และราคาแพง Pan & Tilt unitบางชนิดสามารถที่หมุนได้รอบตัวได้ โดยที่ไม่ต้องหมุนกลับ (เพราะติดสายไฟ)บางชนิดมีวงจรความจำตำแหน่ง (Preset Function)ควรจะพิจารณาว่าสามารถเสริมพิเศษของ Pan & Tilt unitมีความจำเป็นเพียงใด เพราะราคาก็จะต้องสูงไปตามคุณสมบัติที่เพิ่มขึ้น นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว Pan & Tilt unit ยังมีอีกหลายแบบ เช่น บางแบบสามารถที่จะนำไปติดตั้งใต้น้ำได้ เป็นต้น
ระบบไฟฟ้าภายในของ Pan & Tilt unit ต้องเป็นระบบไฟฟ้าชนิดเดียวกันกับ เครื่อง/ตัว ควบคุมการทำงาน เช่น 24 V.DC , 24 V.AC , 115 V.AC หรือ 220 V.AC เป็นต้น ถ้าใช้ระบบไฟฟ้าที่แตกต่างกัน จะทำให้ Pan & Tilt unitไม่ทำงาน หรือ ชำรุดเสียหายได้ ถ้าระบบการส่งสัญญาณควบคุมของ Pan & Tilt unit เป็นการส่งแบบการผสม หรือฝากไปกับสัญญาณอื่นๆ เช่น ระบบ Digital , Microcomputer-Base เป็นต้น จะต้องมีการแปลงหรือแยกสัญญาณควบคุมฯ ออกจากสัญญาณที่เป็นตัวรับฝาก อุปกรณ์นี้เรียกว่า Receiver unit หรือDriver unit หรือมีชื่อเป็นอย่างอื่น ตามแต่ผู้ผลิตจะเรียก
ระบบโทรทัศน์วงจรปิด CCTV คืออะไร
กล้องวงจรปิด (CCTV) ย่อมาจาก Closed-circuit televisionซึ่งจะทำหน้าที่รับภาพที่ปรากฏอยู่ และทำการแปลงเป็นสัญญาณ และทำการส่งสัญญาณดังกล่าวไปในจุดที่ต้องการในลักษณะ point to point
โทรทัศน์วงจรปิด ส่วนมากที่ใช้งานในปัจจุบันนี้มี 2 ลักษณะ คือ :
1. ติดตั้งตายตัว หรือ กล้องติดอยู่กับที่ (Fixed Camera)
หมายถึงตัวกล้องจะติดตั้งอยู่บนขากล้องหรืออื่นๆ ซึ่งไม่สามารถจะขยับ หรือหมุนเปลี่ยนทิศทางในการดูได้
ถ้าต้องการหมุนหรือเปลี่ยนทิศทาง ก็จะต้องถอดตัวกล้องแยกออกจากขากล้อง จึงจะเปลี่ยนตำแหน่งได้.
2. สามารถหมุนปรับทิศทางได้ (Moving Camera)
เพื่อ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน ระบบโทรทัศน์วงจรปิด จึงได้มีการเพิ่มอุปกรณ์ประกอบเข้าไป คือ ฐานกล้องหมุนปรับทิศได้ สามารถที่จะปรับให้หมุนซ้าย / ขวา ก้ม-เงย ได้ ( Pan and Tilt unit )และอาจจะมีอุปกรณ์อื่นเพิ่มอีก เช่น เลนส์ปรับขนาดภาพได้ (Zoom Lens) และ เครื่องหุ้มกล้อง (Camera Housing) เป็นต้น
ฐานกล้องหมุนปรับทิศได้ (Pan & Tilt unit )
เป็นอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กล้อง สามารถที่จะเปลี่ยนได้หลายทิศทาง ทั้งมุมต่ำ และมุมสูง เช่น กล้องที่ติดตั้งอยู่กับ Pan & Tilt unitติดตั้งบนเสามีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร สามารถที่จะปรับมุมก้มเพื่อจะดูวัตถุ หรือคนที่อยู่บนพื้นดิน ซึ่งมีระดับต่ำกว่าตำแหน่งที่ติดตั้งกล้อง หรือมุมเงยเพื่อมองไปยังอาคารที่สูงกว่า ไม่ว่าจะเป็นทิศทางตรงด้านหน้า หรือจะหมุนไป ยังทิศทางอื่นๆ ก็สามารถทำได้
โดยปกติ กล้องที่มี Pan& Tilt unit จะใช้เลนส์ที่สามารถปรับขนาดภาพได้ ควบคู่ไปด้วยกัน แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ขึ้นอยู่กับงานที่ใช้ มากกว่า ในบางลักษณะอาจจะต้องการเพียงให้สามารถปรับทิศในการดูก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องการจะดูในรายละเอียด ในบางลักษณะก็มีความจำเป็นต้องการใช้เลนส์ที่สามารถปรับขนาดของภาพได้ เพื่อจะดูรายละเอียดของภาพที่ต้องการจะดูเพราะว่าระยะของวัตถุหรือจุดที่ ต้องการจะดูในแต่ละทิศทางจะมีความแตกต่างกันไป.
เลนส์ปรับขนาดภาพได้ ( Zoom Lens )
เป็นเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนขนาดภาพได้ ( เปลี่ยน ความยาวโฟกัส) เลนส์ฯ ที่นำมาใช้กับ กล้องที่มี Pan & Tilt unit ส่วนมากจะเป็นชนิด ที่ควบคุมการทำงานด้วยมอเตอร์ เราจึงเรียกว่า Motorized Zoom Lens
การ เลือกใช้ Motorized Zoom Lens ควรจะเลือกให้เหมาะกับงานที่จะใช้ เพราะว่าMotorized Zoom Lens มีหลายแบบ หลายขนาดตามความยาวโฟกัส เช่น การใช้ภายในอาคาร มี พื้นที่ไม่ใหญ่ ก็ใช้ Motorized Zoom Lensที่มีความยาวโฟกัสไม่มากนัก เช่น ๖ - ๓๕ ม.ม. ( ๖ เท่า)ถ้าเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ หรือภายนอกอาคารพื้นที่กว้าง หรือต้องการจะดูให้เห็นรายละเอียดมากๆ ก็ควรใช้ Motorized Zoom Lensที่มีความยาวโฟกัสมากขึ้น เช่น ๖ - ๖๐ ม.ม. ( ๑๐ เท่า) ถ้าติดตั้งนอกอาคาร หรือต้องการที่จะมองให้เห็นได้ไกล ก็ควรใช้ Motorized Zoom Lensที่มีความยาวโฟกัสมากขึ้นไป เช่น ๖ - ๑๒๓ ม.ม. (๒๑ เท่า) เป็นต้น
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบโทรทัศน์วงจรปิด
1. กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV Camera)
2. เลนส์ (CCTV Lenses)
3. เครื่องบันทึกภาพ (Video Recorder)
4. จอภาพ (Video Monitor)
5. เครื่องเลือก / สลับภาพ (Video Switcher) และ เครื่องผสม / รวมภาพ (Multiple Screen Displays)
6. ระบบการควบคุม (Control System)
7. อุปกรณ์เสริม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Related Accessories for more efficiency CCTV System)
7.1. กล่องหุ้มกล้อง (Camera Housing)
7.2. ฐานกล้องปรับทิศทางได้ (Pan & Tilt units)
7.3. อุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ควรดูอะไรบ้างก่อนใช้ กล้องวงจรปิด
1) การเลือกชนิดของกล้องวงจรปิด
• ชนิดของกล้อง กล้องวงจรปิดมีหลายชนิดหลายแบบ โดยแบบได้คร่าว ๆ ดังนี้
- กล้องแบบ CS MOUNT เป็นกล้องที่ต้องใช้เลนส์ต่อกับกล้อง ทำให้เกิดภาพ ข้อดี คือภาพจะชัด เพราะเลนส์ที่ใช้เป็นเลนส์มาตรฐานขนาดใหญ่
- กล้องแบบโดม เหมาะสำหรับสถานที่ที่ต้องการความสวยงามหรือไม่ต้องการให้สังเกตเห็นว่ามีการติดตั้งกล้องวงจรปิด
• ความละเอียดของภาพ (RESOLUTION) กล้องที่ให้ภาพจะชัดเจนหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของแผ่นรับภาพ CCD ซึ่งแบบได้ 2 แบบ คือ
- NORMAL RESOLUTON เป็นแบบที่มีความละเอียดของภาพปกติ ประมาณ 330 - 380 TV LINE
- HIGN RESOLUTION เป็นแบบที่มีความละเอียดของภาพสูงประมาณ 400 - 550 TV LINE หมายเหตุ กล้องที่มีความละเอียดของภาพสูงจะมีราคาสูงตามไปด้วย
• ความสามารถในการรับแสง (ILLUMINATION)กล้องที่มีความสามารถในการรับแสงต่ำ(LUX)จะสามารถใช้ในสถานที่ที่มีความสว่างน้อย (ในที่มืด) ได้ และราคาจะสูงตามไปด้วย
2) เลนซ์ (LENS)
การเลือกเลนซ์ มีความสำคัญในการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด
หลักการทำงานของเลนซ์
เลนซ์จะตัวรวมแสงให้ภาพตกกระทบที่แผ่นรับภาพ CCD โดยมี IRIS , (ช่อง ให้แสงผ่าน) เป็นตัวกำหนดให้ภาพที่เกิดมีความเข้มของแสงตามต้องการ ถ้าในที่มีแสงมาก IRIS จะต้องเปิดน้อย ถ้าในที่มืดจะต้องเปิด IRISให้กว้างที่สุด
ชนิดของเลนซ์
FIX IRIS IRIS ของเลนซ์จะไม่สามารถปรับได้ ทำให้จะต้องใช้ในสถานที่ภายในอาคาร ที่มีแสงสว่างคงที่ตลอดเวลา
MANUAL IRIS IRIS ของเลนส์จะสามารถปรับได้ด้วยช่างเทคนิคที่ติดตั้งกล้อง เหมาะสำหรับงานในอาคารที่มีความสว่างในแต่ละห้องไม่เท่ากัน สามารถปรับแสงให้เหมาะสมในแต่ละห้องได้
AUTO IRISเป็นเลนส์ที่ IRIS จะปรับขนาดการรับแสงเอง โดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ตกกระทบเลนส์ เหมาะสำหรับติดตั้งนอกอาคารที่ความสว่าง เปลี่ยนตามแสงอาทิตย์
3) อุปกรณ์ควบคุมและบันทึกภาพ
แบบใช้เทป (ANALOG)
เครื่องแบ่งภาพ MULTIPLEXER เครื่องบันทึกภาพ
ประกอบด้วย
- MULTIPLEXER (เครื่องแบ่งภาพ) ใช้ต่อกับกล้องได้ 4 ตัว, 8 ตัว และ 16 ตัว
- TIMELAPSE RECORDER (เครื่องบันทึกภาพ) ใช้บันทึกภาพด้วยเทป มีแบบ 24 ชั่วโมง 96 ชั่วโมง, 196 ชั่วโมง, 960 ชั่วโมง
- จอภาพ (MONITOR, TV) ใช้แสดงภาพ
- แบบใช้ HARDDISK (DVR)
- บันทึกภาพลง HARDDISK แบ่งได้ 3 ประเภท
- แบบ CARD เป็น CARD ที่สามารถต่อกล้องได้ 4, 8, 16 ตัว โดยจะต้องใช้ COMPUTER
- แบบ STANDALONE เป็นแบบ ที่ประกอบ COMPUTER มาจากโรงงานโดยตรงเป็นแบบ PC BASE
- แบบ STAND ALONE NON PC เป็นแบบ อุปกรณ์ประกอบจากโรงงานทั้งชุดและไม่ใช้โปรแกรม WINDOW (NON PC)
ข้อดีของการเลือกใช้กล้อง Network camera เมื่อเปรียบเทียบกับกล้อง Analog
1. การ Access หรือการเข้าถึงตัวกล้อง ซึ่งโดยปกติแล้วกล้อง Network camera นั้นสามารถที่จำทำการเข้าถึงตัวกล้องได้จากทุกๆที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนบนโลก เนื่องจากว่าตัวกล้องนั้นสามารถทำงานได้บนพื้นฐานระบบเครือข่าย(Network)ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกล้องเข้ากับระบบ LAN, Wan แล้วก็ Internet ได้ โดยสามารถเรียกดูภาพจากกล้องได้อย่างง่ายดายเพียงแค่เปิดโปรแกรม IE (Internet Explorer) ซึ่งมีอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากกล้องระบบ Analog โดยสิ้นเชิง เพราะว่าตัวกล้อง Analogนั้นไม่สามารถเข้าถึงตัวกล้องได้โดยตรงไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม
2. Easy to use การใช้งานค่อนข้างง่าย เนื่องจากสามารถเรียกดูภาพได้จากโปรแกรม IE (Internet Explorer)ได้อย่างง่ายแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปกำหนดค่าการทำงานต่างๆของตัวกล้องได้อีกด้วย
3. Quality หรือคุณภาพของภาพที่ได้ ในระบบกล้อง Network cameraนั้นผู้ใช้สามารถเข้าไปกำหนดค่าการใช้งานต่างๆผ่านโปรแกรม IE (Internet Explorer) ได้ที่กล้องโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนด Resolutionของภาพ การตั้งค่าการ Compression ของภาพ ซึ่งสามารถที่จะกำหนดคุณภาพของภาพได้ตามความต้องการ อีกทั้งรูปแบบของไฟล์ยังเป็นดิจิตอล ทำให้ไม่เกิดปัญหาในเรื่องของระยะทางในการส่งสัญญาณภาพหรือการดึงภาพมา บันทึก ซึ่งต่างจากระบบ Analog ซึ่งบางครั้งการติดตั้งในระยะที่ไกลเกินไป หรือสภาวะแวดล้อมที่มีสัญญาณกวนต่างๆ จะทำให้การส่งสัญญาณภาพเกิดปัญหาขึ้นได้
4. System Requirement ความต้องการของระบบ กล้อง Network cameraนั้นสามารถทำงานได้บนระบบเครือข่ายที่ผู้ใช้มีอยู่ได้เลย เพียงแค่ปลั๊กอุปกรณ์กล้องเข้ากับระบบเครือข่ายก็สามารถใช้งานได้ทันที ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งแบบเดินสาย หรือ ไร้สาย (Wireless)และในการบันทึกภาพนั้นก็เพียงแค่ใช้โปรแกรมบันทึกภาพลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั่วๆไปก็สามารถที่จะดึงภาพจากกล้องมาบันทึกได้ทันที ไม่เหมือนกับระบบAnalog ซึ่งจำเป็นจะต้องวางระบบใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การเดินสาย รวมถึงจะต้องซื้ออุปกรณ์ที่เรียกว่า DVR (Digital video recorder)เพื่อใช้ในการบันทึกภาพ
5. Installation การติดตั้ง ระบบNetwork นั้นสามารถติดตั้งได้อย่างง่ายดาย หรือสามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นแบบเดินสาย หรือแบบไร้สาย ซึ่งจะยิ่งทำให้การติดตั้งนั้นง่ายดายมากยิ่งขึ้น ผิดกับ Analogซึ่งจะต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด
6. Cabling สายสัญญาณ ระบบNetwork นั้นจะใช้สายสัญญาณประเภท UTP ซึ่งปัจจุบันมีราคาค่อนข้างถูก อีกตั้งตัวสายยังมีความยืดหยุ่นสูง สามารถที่จะเดินสายติดตั้งได้โดยง่าย อีกทั้งปัจจุบันยังมีเทคโนโลยี Wireless LANซึ่งช่วยให้ลดการติดตั้งแบบเดินสายได้อีกด้วย แต่ระบบ Analogนั้นใช้สายสัญญาณประเภท Coax ซึ่งลักษณะของสายมีขนาดใหญ่และค่อนข้างแข็ง ทำให้ในการติดตั้งนั้น ค่อนข้างกระทำได้ยาก เนื่องจากจะต้องเดินสายจากกล้องทุกตัวมาเข้ากับเครื่องบันทึกภาพ (DVR)
7. Scalability การขยายระบบ ระบบกล้อง Network cameraนั้นสามารถเพิ่มกล้องเข้าสู่ระบบได้โดยง่าย เพียงแค่ปลั๊กกล้องเข้ากับระบบเครือข่ายก็สามารถใช้งานได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่ม ลด หรือย้ายจุดติดตั้งได้อย่างง่ายได้ โดยหากใช้เป็นระบบ Wireless จะยิ่งเพิ่มความสะดวกมากขึ้น ผิดกับระบบanalog ซึ่งแต่ละกล้องจำเป็นจะต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด ทำให้ในการเพิ่มจำนวนกล้อง หรือย้ายจุดติดตั้งนั้นทำได้โดยลำบาก ซึ่งหากระยะไกลเกินไปก็อาจจะทำให้สัญญาณภาพเกิดปัญหาขึ้นได้อีก
8. Cost ค่าใช้จ่าย ระบบกล้อง Network cameraนั้นสามารถใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายที่มีอยู่ได้ทันที ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเป็นอาคารสำนักงานต่างๆก็จำเป็นจะต้องมีระบบเครือข่ายใช้งานภายในอยู่ แล้ว หรือหากต้องมีการติดตั้งใหม่นั้น โดยเฉลี่ยแล้วค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแบบเดินสาย UTPนั้นจะถูกกว่าการติดตั้งหรือเดินสายแบบ Coax อยู่ประมาณ 20-30%นอกจากนั้นปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ Networkรวมถึงราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีราคาลดลงจากเมื่อก่อนมาก อีกทั้งการติดตั้งระบบเครือข่ายใหม่ นอกจากจะสามารถใช้งานระบบกล้องNetwork camera แล้วยังสามารถใช้งาน Application อื่นๆได้ด้วย ซึ่งทำให้ค่ายใช้จ่ายในปัจจุบันนั้น ไม่ได้สูงกว่าระบบ analog แบบเก่าเลย
จากเหตุผลต่างๆข้างต้น ผู้ใช้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันกล้อง Network cameraนั้นค่อนข้างจะมีปะสิทธิภาพ และประโยชน์ในการใช้งานที่หลากหลายกว่าระบบAnalog ไม่ว่าจะเป็นตัวกล้องเอง ระบบในการใช้งานเอง ความยากง่ายในการติดตั้ง เคลื่อนย้าย ก็ตาม แล้วที่สำคัญปัจจุบันค่าใช้จ่ายต่างๆนั้นก็ใกล้เคียงกับระบบ Analogแบบเก่า แต่ให้ประโยชน์การใช้งานที่มากกว่า จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าในการเลือกใช้ระบบกล้องที่เป็นแบบ Network camera
การพิจารณาซื้อระบบกล้องวงจรปิด
» ประเทศผู้ผลิต
ปัจจุบันสินค้าที่ผลิตในประเทศไต้หวัน เป็นที่ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพและราคา ทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่สินค้าจากประเทศจีน ที่บริษัทต่างๆ นำเข้ามาขายจะเน้นราคาถูก ทำให้สินค้าไม่มีคุณภาพอายุการใช้งานสั้นมาก 3 เดือน - 2 ปี ทางที่ดี เน้นสินค้าที่ผลิตจากประเทศไต้หวันเป็นหลัก จะดีกว่า
» อุปกรณ์ที่ใช้
สินค้าหลักที่ใช้ในระบบกล้องวงจรปิดมี 2 รายการ คือ
กล้องวงจรปิด แบ่งเป็น 3 ชนิดหลักๆ คือ
1. กล้องแบบโดม
เหมาะสำหรับใช้ในอาคาร ที่แสงสว่างไม่เปลี่ยนแปลง ราคาถูก
2. กล้องแบบทรงเหลี่ยม (CS - MOUNT)
เหมาะสำหรับใช้ทั้งภายใน และภายนอก ต้องใช้คู่กับเลนส์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนขนาดโฟกัสของเลนส์ได้ ทำให้ได้ภาพที่คมชัดตามพื้นที่ที่ต้องการ
3. กล้อง INFARED
เหมาะสำหรับใช้ทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะพื้นที่ที่มืดสนิทในตอนกลางคืน เพราะมีหลอด INFARED ผลิตความถี่ให้เห็นในที่มืดสนิทได้
อุปกรณ์บันทึกภาพ ต้องพิจารณาคุณลักษณะหลักๆ คือ
1. ชนิดของอุปกรณ์บันทึกภาพ
แบบ PC BASE จะใช้ในโปรแกรม MS Office มีแบบเป็น CARDและแบบผลิตสำเร็จมาพร้อม Computer จะมีคุณสมบัติมากมายเหมือน Computer
แบบ STANDALONE เป็นแบบที่เป็นตัวเครื่องผลิตสำเร็จรูปมาจากโรงงาน มีคุณสมบัติครบถ้วนราคาถูก
2. ความเร็วของภาพที่ดูจากจอภาพ/ ความเร็วในการบันทึกภาพ จะพิจารณาเป็น ความเร็วภาพ/วินาที (Frame)ถ้ามีความเร็วสูง ภาพจะดูต่อเนื่องแต่เปลือง Memory ใน Harddisk มาก
3. มาตรฐานในการบีบอัด(Compression) ของภาพมาตรฐานที่เป็นที่นิยมกันหลักๆ มีดังนี้ MPEG4 , MJPEG และ H.264 MPEG4 เป็นที่นิยมสูงสุด เพราะใช้พื้นที่ในการบันทึกน้อย
4. การดูภาพผ่าน Internet / Lan ควรจะสามารถดูผ่าน Internet / Lan ได้
การรับประกันสินค้า จะต้องขอเอกสาร เงื่อนไข การรับประกัน สินค้าจากบริษัทที่จำหน่าย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
การติดตั้ง มีความสำคัญมากไม่น้อยกว่าการเลือกสินค้า สายที่ใช้ในการติดตั้งมี 2 ชนิดคือ
1. สายไฟฟ้า จะต้องใช้สายที่ได้มาตรฐาน มอก.ระวังผู้ขายที่ขาดความรับผิดชอบจะใช้สายโทรศัพท์แทนสายไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้สายร้อนและเกิดอัคคีภัยได้
2. สายสัญญาณใช้สายRG6 ที่ได้มาตรฐาน โดยจะต้องใช้สาย SHIELD 90% ขึ้นไป ควรจะใช้ยี่ห้อ มาตรฐาน เพราะถ้าใช้สายถูก ราคาเมตรละ 5 - 8 บาท จะ SHIELD ต่ำ 60%จะใช้งานได้ไม่นาน ภาพของกล้องจะเกิดสัญญาณรบกวน ต้องเดินสายใหม่ทั้งหมด งานติดตั้งจะต้องตรวจสายที่ติดตั้งจริงก่อนชำระการติดตั้ง การติดตั้งสำคัญมาก ถ้าต้องรื้อและเดินสายใหม่จะเป็นเรื่องใหญ่มาก
การทำงานของเลนส์
เลนส์จะเป็นตัวรวมแสงให้ภาพตกกระทบที่แผ่นรับภาพ CCD โดยมี IRIS (ช่องให้แสงผ่าน) กำหนดให้ภาพที่เกิดมีความเข้มของแสงตามต้องการ
- ในกรณีที่มีแสงมาก IRIS จะต้องเปิดน้อย
- ในกรณีที่มีแสงน้อย IRIS จะต้องเปิดมาก
ประเภทของเลนส์
1. FIX IRIS IRIS ของเลนส์จะไม่สามารถปรับได้ ทำให้จะต้องใช้ในสถานที่ภายในอาคาร ที่มีแสงสว่างคงที่ตลอดเวลา
2. MANUAL IRIS IRISของเลนส์จะสามารถปรับได้ด้วยช่างเทคนิคที่ติดตั้งกล้อง เหมาะสำหรับงานในอาคารที่มีความสว่างในแต่ละห้องไม่เท่ากัน สามารถปรับแสงให้เหมาะในแต่ละห้องได้
3. AUTO IRIS เป็นเลนส์ที่ IRIS จะปรับขนาดของการรับแสงเอง โดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่ตกกระทบเลนส์ เหมาะสำหรับติดตั้งนอกอาคารที่ความสว่างเปลี่ยนตามแสงอาทิตย์
การเลือกใช้เลนส์
โดยทั่วไปจะมีมาตรฐานเกลียวอยู่2ชนิด โดยทั้ง2ชนิดนั้นจะมีเกลียวขนาด 1นิ้ว และมีลักษณะคล้ายๆกัน
- CS-mount ระยะห่างระหว่างตัวเซ็นเซอร์และเลนส์จะมีขนาด 12.5 มิลลิเมตร
- C-mount ระยะห่างระหว่างตัวเซ็นเซอร์และเลนส์จะมีขนาด 17.5 มิลลิเมตร โดยสามารถที่จะใช้ C/CS Adapter ring เพื่อที่จะแปลงเลนส์แบบ C-mountไปเป็นแบบ CS-mount ได้
- Sensor size (ขนาดของตัวรับภาพ)เลนส์โดยทั่วไปนั้นจะสร้างภาพที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับตัวเซ็นเซอร์ โดยที่เซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะมีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย โดยที่เลนส์ที่มีขนาด ½ นิ้ว ก็จะใช้งานได้สำหรับเซ็นเซอร์ที่มีขนาด 1/2นิ้ว, 1/3 นิ้ว และ ¼ นิ้ว จะไม่สามารถใช้ได้กับเซ็นเซอร์ที่มีขนาด2/3นิ้ว ถ้าคุณเลือกเลนส์สำหรับเซ็นเซอร์ขนาดเล็กมาใช้งานกับเซ็นเซอร์ที่มีขนาดใหญ่ ก็จะได้ภาพที่มีมุมเป็นสีดำ
- Focal length (ความยาวของจุดโฟกัส)ความยาวของจุดโฟกัสประกอบกับขนาดของเซ็นเซอร์จะให้มุมที่ดูแตกต่างกัน โดยถ้าขนาดความยาวของโฟกัสสั้นจะให้มุมมองที่กว้าง(wide-angle view)ถ้าขนาดความยาวของจุดโฟกัสยาว จะให้มุมมองที่แคบลง(telephoto view)
เลนส์ ที่มีมุมมองที่กว้าง(wide-angle view)จะมีมุมมองส่วนลึกของพื้นที่ได้ดีกว่าเลนส์ที่มีมุมมองแคบ(telephoto view)นั้นหมายความว่าคุณสามารถที่จะโฟกัสภาพเข้ามาใกล้ได้จากระยะไกล ซึ่งเลนส์ที่มีมุมมองแคบจะต้องการการโฟกัสภาพที่ถูกต้อง แน่นอนกว่า
รูปแบบหลักของเลนส์มีอยู่ 3 แบบคือ
- Mono-focal. ความยาวของจุดโฟกัสนั้นถูกกำหนดมา เช่น 4 มิลลิเมตร
- Zoom. ความยาวของจุดโฟกัสนั้นสามารถที่จะปรับได้โดยอยู่ในระยะที่กำหนด เช่น 4 ถึง 10 มิลลิเมตร
- Varifocal zoom. เป็นเลนส์ซูมที่มีราคาค่อนข้างต่ำ โดยถ้ามีการเปลี่ยนระยะห่างของจุดโฟกัส เลนส์นั้นจะต้องมีการปรับตั้งโฟกัสใหม่ โดยทั่วไปจะมีขนาด 3.5 ถึง 8มิลลิเมตร
ตัวอย่าง
ขนาดภาพขนาดใดที่คุณสามารถที่จะเห็นได้ในระยะ10 ฟุต ถ้าคุณใช้กล้องที่มีขนาดเซ็นเซอร์ ¼ นิ้ว และใช้เลนส์ขนาด 4 มิลลิเมตร? H = D x h / f = 10 x 3.6 / 4 = 9 ft
- Iris(รูรับแสง)ในส่วนของIris จะเป็นส่วนที่ใช้กำหนดปริมาณของแสงที่จะผ่านไปสู่เลนส์ โดยที่จะมีลักษณะแตกต่างกันอยู่ 3 แบบคือ
- Manual Iris.หมุนปรับได้ที่วงแหวนIris หรือเลือกใช้เลนส์ที่กำหนดค่าIris มาแล้ว โดยเลือกขนาดของIris ทีมีให้ เช่น F1.4, F2.0 เป็นต้น
- DC Auto Iris. เชื่อมต่อเข้าที่ช่องต่อ output ของตัวกล้อง โดยที่Irisจะถูกควบคุมโดยตัวกล้องโดย Digital Signal Processor (DSP)
- Video Auto Iris. Iris จะถูกควบคุมโดยสัญญาณวีดีโอ
เลนส์แบบออโต้ไอริสนั้น เหมาะสำหรับงานที่อยู่ภายนอกอาคาร โดยเลนส์นั้นจะสามารถปรับแสงให้เหมาะกับสภาพแสงขณะนั้น โดยที่จะให้คุณภาพแสงที่ดีที่สุด
และยังสามารถป้องกันตัวรับภาพจากปริมาณแสงที่มีเข้ามามากเกินไป
- F-number
F-number =Focal length / Iris diameter
ถ้าจำนวน F น้อย จะทำให้คุณภาพของภาพนั้นดีกว่าในสภาวะที่มีแสงน้อย
กับ เลนส์ที่เป็นออโต้ไอริสนั้น จะต้องตั้งโฟกัสภาพในขณะที่มีแสงน้อยเสมอ เพราะถ้ามีการตั้งโฟกัสในขณะที่มีแสงสว่างเยอะนั้น อาจจะทำได้ง่าย แต่ว่าในขณะที่แสงนั้นน้อยลงจะทำให้เส้นผ่านศูนย์กลางของรูรับแสงปรับเล็กลง และอาจจะทำให้ภาพนั้นไม่อยู่ในโฟกัสได้ คุณสามารที่จะใช้ตัวกรองแสงสีดำแบบพิเศษ ซึ่งจะช่วยให้เราลดปริมาณแสงได้ ตัวกรองแสงนี้จะช่วยในการติดตั้งกล้องของคุณได้